วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บุคคลในอุดมคติ [My Idol]

[Bodyslam]
  ทำไมถึงชอบ:ชอบstyleในการเล่นดนตรีและเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ 
                      :ชอบstyleการตัดแต่งตัว
                      :ชอบการดำเนินชีวิตของเขาในวัยเรียน
                      :เป็นแบบอย่างที่ดีของวัยรุ่น


อะไรจะเกิดขึ้น! ถ้า "เด็กโง่" ไม่มีที่ยืนในสังคม



พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีหรือท่านว.วชิรเมธี

 
ในยุคที่ "ความเก่ง" คือโอกาส พ่อแม่หลายท่านต่างคาดหวังให้ลูกเรียนเก่งเพื่อแย่งชิงที่ยืนในสังคม ไม่ว่าจะในโรงเรียน หรือโลกการทำงาน ถ้าเด็กหัวดี แน่นอนว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง แต่สำหรับเด็กอีกกลุ่มที่ไม่ได้เกิดมาเก่ง และเรียนดีเหมือนเด็กคนอื่น การที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่รอบข้างคอยเปิดแผลด้วยการทำลายคุณค่า และปิดกั้นโอกาส นอกจากเด็กจะไร้ที่ยืนแล้ว อาจกลายเป็นผู้กระทำต่อสังคมตามมาได้
      
       เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ผู้ อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ให้ทัศนะผ่านทีมงาน Life & Family ว่า เวลานี้การศึกษาไทยมุ่งสร้างเด็กเก่ง แต่ขาดการเติมคุณธรรมจริยธรรมเข้าไป ทำให้ยิ่งเก่งยิ่งโกง ขณะที่เด็กไม่เก่งเอง กลับถูกมองข้าม และถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างไม่มีคุณค่า ผลที่ตามมา เด็กจะรู้สึกแย่ และใช้ชีวิตอย่างไม่มีคุณค่า กลายเป็นเด็กสร้างปัญหาในสังคม
      "ขึ้นชื่อว่าเด็ก ต้องได้รับความสนใจเท่ากันหมด ถ้าเก่งอยู่แล้ว ควรเติมให้เขาเป็นเด็กเก่งและดี แต่ถ้าไม่เก่ง ขอให้ช่วยพัฒนาเขาให้เก่ง หากพัฒนาแล้ว ทำอย่างไรก็ไม่เก่ง ก็พัฒนาให้เขาเป็นคนดีก็ได้ เพราะการเป็นคนดีนั้นมีค่ามากพอที่จะนำพาชีวิตให้ประสบพบสุข" พระนักคิดท่านนี้กล่าว
      
       
ฉะนั้น สิ่งที่พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่รอบข้างควรเข้าใจ พระนักคิดท่านนี้ ให้แนวทางว่า เราไม่ควรไปสรุปว่าเด็กไม่เก่ง คือ เด็กโง่ แต่บางทีอาจไม่ใช่ทางที่เขาถนัดก็ได้ ลองหาวิธีการให้เขาได้ค้นพบในสิ่งที่เขาถนัดดู หรือถ้าพบแล้วยังทำได้ไม่ดี ก็ลองดูต่อไปว่า เขาเพียรพยายามน้อยไปหรือเปล่า
      
       "ไม่มีคนโง่ที่แท้จริงใน โลกใบนี้หรอก มีแต่ยังค้นวิธีที่จะสอนเขาไม่เจอก็เท่านั้น ทางที่ดี เวลาเห็นเด็กไม่เก่ง เราควรจะบอกกับเขาว่า เธอยังพยายามน้อยไปไหม หรือ ลองตั้งต้นใหม่อีกทีสิลูก ซึ่ง ดีกว่าไปตัดสินว่าเด็กคนนั้นเป็นคนไม่มีคุณค่า หรือทำสิ่งใดไม่ได้เรื่องสักอย่าง" พระนักคิดฝากถึงพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้างเด็ก

 

     

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ถวายพระพร

ผมขอปฏิญาณต่อตัวเองเลยนะครับว่า ผมพร้อมที่จะทำทุกอย่าง ทุกวิถีทาง ด้วยแรงกายแรงใจที่มีทั้งหมด เพื่อตอบแทนประเทศชาติของผม คือประเทศไทย บ้านเมืองของผม ก็คือ พี่น้องชาวไทย และพระมหากษัตริย์ของผม ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ เป็นมิ่งขวัญชาวไทยตลอดไปครับ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
       ข้าพระพุทธเจ้า นาย รตัญญู หมั่นกิจ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ


          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
          รัฐธรรมนูญ หายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
  วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย


  ประวัติความเป็นมา
                การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมาย สูงสุดของประเทศ

     สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          พระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

         
หลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  
         
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

         
รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า"พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระ สำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

           พระมหากษัตริย์ 
           สภาผู้แทนราษฎร 
           คณะกรรมการราษฎร 
           ศาล

       
ลักษณะ การปกครองแม้จะเปลี่ยน ระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

           
สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้
เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้ 

       
          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ